ฟีเจอร์เด่นของภาษาไพทอน
ฟีเจอร์ที่สำคัญที่ทำให้ภาษาไพธอนมีความเหนือชั้นกว่าภาษาโปรแกรมมิ่งอื่นๆ และเป็นตัวเลือกอันดับแรกที่องค์กรชั้นนำของโลกเลือกใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์
1. โปรแกรมถูกเขียนด้วยภาษาไพธอนอ่านง่าย เพราะมีโครงสร้างภาษาคล้ายภาษาอังกฤษซึ่งแตกต่างจากภาษาอื่นไ ที่นิยมใช้เครื่องหมายวรรคตอน เช่นการใช้ย่อหน้าเพื่อระบุถึงขอบเขตของโปรแกรม แต่ภาษาซีใช้เครื่องหมายปีกกา {..} แทน คำว่าง่ายในที่นี้อธิบายได้ 2 ส่วน
- ง่ายในการเขียนโค้ด (Easy to code) ใช้เวลาสั้นเพียงไม่กี่ชั่วโมงก็รู้กฏเกณฑ์ (syntax) มาเขียนโปรแกรมง่ายๆ ได้แล้ว แต่หากจะเรียนรู้แนวคิดในระดับสูงขึ้น ก็ต้องใช้เวลาเรียนนานสักหน่อย
- ง่ายในการอ่าน (Easy to read) ไพธอนจัดอยู่ในกลุ่มภาษาระดับสูง (Hight-level-language) หมายความว่า โค้ดที่เขียนจะเหมือนกับภาษาอังกฤษ ทำให้ทราบความหมายของโค้ดได้ไม่ยาก
2. Free and Open Source: เราสามารถเรียนรู้การเขียนภาษาไพธอนได้ฟรีที่เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ โดยมูลนิธิซอฟต์แวร์ไพธอน โดยให้การสนับสนุนในเรื่องต่างๆ เช่น การติดตั้งโปรแกรม การสอนเขียนโค้ด ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.python.org
3. Object-Oriented-Language เขียนภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ กุญแจสำคัญของฟีเจอร์เด่นของไพธอน คือ ไพธอนรองรับการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุได้
4. รองรับการเขียนกราฟิกแอพพลิเคชั่นส่วนต่อประสานกับผู้ใช้งาน Graphic User Interface มีโมดูลให้ใช้หลากหลายตัว เช่น PyQt5, PyQt4, wxPython, หรือ Tk in python.
5. ไพธอนมีระบบจัดการหน่วยความจำแบบอัตโนมัติ จึงไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับการจัดสรรหน่วยความจำที่ใช้งานอยู่
6. ไพธอนสามารถทำงานร่วมกับภาษาอื่นๆ ได้ (Extensible) ทั้งภาษาระดับสูงและภาษาระดับต่ำ เช่น ภาษาซีและภาษาแอสเซมบลิ เป็นต้น
7. ลดจำนวนคำสั่งที่ไม่จำเป็นออกไป เช่นคำสั่ง do...while และเพิ่มคำสั่งที่เพิ่มความสะดวกเข้าไป เช่น เพิ่มคำสั่ง else finally ในคำสั่ง try...except หรือใช้คำสั่ง else ร่วมกัยคำสั่ง for และ while เป็นต้น
8. ไพธอนมีคลังโปรแกรมให้เลือกใช้งานมากมาย ซึ่งจะทำให้ผู้เขียนสามารถเขียนโปรแรกมได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
9. ไพธอนสามารถเขียนข้าม platform ได้ เนื่องจากใช้อินเตอร์เฟสเดียวกันในทุกๆ แพลตฟอร์ม ดังนั้น ระบบปฏิบัติการที่เขียนขึ้นบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ สามารถนำไปประมวลผลกับระบบปโิบัติการอื่นๆ เช่น ไอโอเอส ยูนิกส์ และลีนุกส์ เป็นต้น
10. ไพธอนใช้การแปลภาษาด้วยวิธีการแบบอินเตอร์พลิเตอร์ (Interpeter) ซึ่งจะแปลชุดคำสั่งที่เขียนไว้ทีละบรรทัดแบบทันที โดยไม่จำเป็นต้องคอมไพล์ เหมือนภาษาระดังสูงทั่วๆไป เช่น ภาษา C, ภาษา C++, Pascal, basic เป็นต้น