การเขียนโปรแกรมไพธอนเบื้องต้น

Nov. 10, 2021, 4:28 a.m.
...

การเรียนเขียนโปรแกรมในเบื้องต้นเราจะต้องศึกษาเรื่องของซินแท็กซ์ (syntax) หมายถึง หลักของภาษา ไวยากรณ์ กฏเกณฑ์ต่างๆ นำมาซึ่งโครงสร้างทางภาษา และรูปแบบในการเขียนอย่างมีแบบแผน หากเราเขียนโค้ดไม่ถูกต้องตามหลักภาษา จะเกิด Syntax Eroror ขึ้นมาทันที  บทนี้จะนำเข้าสู่พื้นฐานการเรียนเขียนโปรแกรมให้ถูกต้องตามหลักภาษา

ส่วนประกอบของโปรแกรมไพธอน 
(The Anatomy of a Python Program)

คำสงวนในภาษาไพธอน (Reserved Words )

คำสงวน (Reservedd Word/Key Word) คือ คำที่ถูกใช้ในภาษาไพธอนโดยผู้เขียนโปรแกรมไม่สามารถนำมาใช้งานได้  เพราะจะทำให้ตัวแปรภาษาไพธอนสับสนว่า คำดังกล่าวเป็นคำที่ไพธอนสงวนไว้สำหรับตัวแปลภาษา หรือเป็นตัวแปรของผู้เขียนโปรแกรม สำหรับคำสงวนที่สำคัญของไพธอนมีดังนี้

and   def  finally  in  or  while  as  del  for  is  pass  with  assert 

elif  from  lambda  raise  yeild  break  else  global  none  return 

class except  if  nonlocal  true  continue  false  import  not  try  

การตั้งชื่อตัวแปรในไพธอน (Naming)

.ในการเขียนโปรแกรมภาษาใดก็ตาม  จำเป็นต้องสร้างตัวแปรขึ้นมาเพื่อ เก็บค่าข้อมูลอยู่เสมอ เช่น ค่าของมูลชื่อ ก็นำไปเก็บไว้ในตัวแปร name เป็นต้น โดยสรุปหลักการตั้งชื่อตัวแปรให้ถูกต้องดังนี้

  1. ตัวอักษรตักแรกต้องเป็นอักษรพิมใหญ่หรือเล็ก ( A-Z, a-z ) หรือ '_'  หรือตัวเลขใดๆก็ได้ เช่น name Name ,Score50, a5, B5, _test, _python_09, Book_Student, school_name
  2. ตัวแปรห้ามมีช่องว่าง จุดทศนิยม หรือสัญลักษณ์พิเศษทั้งหมด ยกเว้น underscore '_' เท่านั้น
  3. การใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่และอักษรพิมเล็กมีความแตกต่างกัน ( Case-Sentitive ) เช่น Var1  กับ var1 คือว่าเป็นคนละตัวกัน
  4. ห้ามใช้คำสงวนเป็นชื่อตัวแปร  เช่น if, else ,elif , def
  5. ตั้งชื่อให้สื่อความหมาย สามารถอ่านขเ้าใจได้งาย
  6. ชื่อตัวแปรไม่ควรยาวเกิน 255 ตัวอักษรเพื่อหระหยัดหน่วยความจำ     

การใช้งานตัวแปรในไพธอน  ( Variables )

การใช้งานตัวแปรมี  3  ขั้นตอน  ดังนี้

1.  ประกาศตัวแปร  ก่อนใช้งานตัวแปรใดๆ  จำเป็นต้องประกาศให้ตัวแปรภาษารู้เสียก่อน  เช่น  ประกาศว่า Score คือ ตัวแปรที่ใช้เก็บคะแนนสอบ, GPAX s เก็บเกราดเฉลี่ย  เป็นต้น

2.  กำหนเค่าให้ตัวแปร (Assigning values to variables ) มี  2  ลักษณะดังนี้

     2.1  กำหนดค่าให้กับตัวแปรโดยค่าข้อมูลมีจำนวนเท่ากัน

 

Score = 65.5          #กำหนดให้ตัวแปร  Score  เท่ากับ 65.5 (จำนวนจริง)
Subject = ‘Math’    #ตัวแปร  Subject เท่ากับ  “Math” (สายอักขระ)

จากตัวอย่างข้างต่น  จะเป็นการกำหนดค่าข้อมูลให้กับตัวแปๆใด เพียงค่าเดี่ยวเท่านั้นโดยค่าข้อมูล 65.5 และ 'Math' จะถูกกำหนดให้กับตัวแปร  Score , Subject  หรือกำหนดค่าให้กับตัวแปรพร้อมๆ กันหลายค่า  แต่จำนวนค่าตัวแปรต้องเท่ากัน โดยคั่นเครื่องหมายคอมม่า ( , ) เช่น

Score,GPAX,Subject = 65.5, 3.5 , "Math"            # กำหนดค่าตัวแปร Score เท่ากับ 65.5 
                                                                     
# กำหนดค่าตัวแปร GPAX เท่ากับ 3.5 
                                                                    # กำหนดค่าตัวแปร Subject เท่ากับ "Math"