ชนิดข้อมูล

April 20, 2022, 9:12 a.m.
...

ชนิดของข้อมูล (Data Type)

ข้อมูลพื้นฐานของไพธอนแบ่งออกเป็น 6 ชนิด ตัวเลข ,สายอักขระ, ลิงต์, ทูเพิล ,ดิกชันนารี , และเซต โดยแต่ละประเภทแตกย่อยข้อมูลออกเป้นประเภทต่างๆ ดังนี้

ข้อมูลชนิดตัวเลข

ประกอบด้วย  4 ประเภท

  • ข้อมูลตรรกะ (Boolean)
  • จำนวนเต็ม  (Integer)
  • จำนวนจริง (Floating Point)
  • ข้อมูลชนิดสตริง (String)  

ข้อมูลตรรกะ (Boolean)

มีค่าข้อมูล 2 สถานะ คือ จริง (True หรือ 1)  และเท็จ (False หรือ 0) เท่านั้น

การประกาศตัวแปร 
ผลลัพธ์
x = True
กำหนดให้ x เท่ากับ จริง
y = True
กำหนดให้ y เท่ากับ เท็จ
print(x)
จริง
print(y)
เท็จ

แนะนำให้ผู้อ่านเปิดโปรแกรม Python IDLE ขึ้นมา และพิมพ์โค้ดตามตารางเื่อตรวจสอบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากตารางข้างต้น ให้ผู้อ่านป้อนข้อมูลทีละบรรทัด จะได้ผลลัพธ์ดังรูป

จำนวนเต็ม (Integer : int)

ค่าของข้อมูลเป็นไปได้ทั้งจำนวนเต็มลบและเต็มบวก เช่น -5 , 0 หรือ 10 เป็นต้น รวมไปถึง เลขฐานแปด (Octal)  และเลขฐานสิบหก (Hexadecimal)

การประกาศตัวแปร int
ผลลัพธ์
x = 20
กำหนดให้  x  เท่ากับ 20
y = -10
กำหนดให้  y  เท่ากับ -10
octal = 0o25
กำหนดให้ octal เท่ากับ 0o25 ฐานแปด หรือ 21 ฐานสิบ
Hex = 0x18
กำหนดให้ Hex เท่ากับ 0x18 ฐานสิบหก หรือ 24 ฐานสิบ
print(x,y,octal,hex)
20,-10,21,24
oct(octal)
พิมพ์เลขฐานแปด เท่ากับ 0o25
hex(Hex)
พิมพ์เลขฐานสิบหก เท่ากับ 0x18

จำนวนจริง

คือข้อมูลที่เป็นตัวเลขที่ประกอบด้วยจุดทศนิยมเป้นได้ทั้งบวกและลบ เช่น -10.00,0.0,20.0,32.3+e18 และ 7.0-E12 เป็นต้น

ประกาศตัวแปร float

ผลลัพธ์

x = 10.0

กำหนดให้ x เท่ากับ 10.0

y = 0.0

กำหนดให้ y เท่ากับ 0.0

print(x)

-10.0

print(y)

0.0


ข้อมูลชนิดสตริง หรือสายอักขระ (String)

แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

อักขระที่มีเพียงตัวเดียว (Character : char) นิยมเขียนในรูปเครื่องหมาย ‘’ (single quote) เช่น

‘A’,’Z’ , ‘a’  ,  ‘z’  ,  ‘1’  ,  ‘9’  ,  ‘#’ เป็นต้น

อักขระที่เขียนเรียงติดกันมากกว่า  1  ตัว  เรียกว่า  สายอักขระ (String) นิยมเขียนในรูปเครื่องหมาย “” (Double Quote) เช่

“Python”  ,  “Hello”  ,  “0001 Programing” 
 

 

ประกาศตัวแปรสตริง
ผลลัพธ์
x = ‘A’
กำหนดให้  x เท่ากับ ‘A’
y = “Python”
กำหนดให้  y เท่ากับ “Python”
print(x)
A
print(y)
Python
print(x[0])
A
print(y[2])
y

** การแสดงผลข้อมูลสตริงเฉพาะตำแหน่ง สามาถทำได้ง่ายๆ โดยการระบุตำแหน่งที่จัดเก็บข้อมูล (ตัวชี้ หรือ Index) ร่วมกับเครื่่องหมาย [...]  ดังตัวอย่างตามตารางข้างต้น


ข้อมูลชนิดลิสต์ (List)

เป็นข้อมูลที่มีรูปแบบการจัดเก็บแบบชุดและลำดับ ลิสต์สามารถเก็บข้อมูลได้หลายค่าที่แตกต่างกันภานใน ตัวแปรเดียว  โดยมีตัวชี้ข้อมูล (Index) ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้

ประกาศตัวแปรลิงต์
ผลลัพธ์
x = []
กำหนดให้  x เท่ากับลิสต์ว่าง
y = [1,2,3,”Hello”]
กำหนดให้  y มีสมาชิกประกอบด้วย 1,2,3,”Hello”
z = [y,2,5]
กำหนดค่าลิสต์  y ให้ลิงต์ z (ลิสค์ซ้อน)
print(x)
[ ]
print(y)
[1,2.5,”Python”]
print(x[3])
“Hello”
print(y[1])
2

จากตัวอย่าง ตัวแปรลิสต์มีลักษณะการเก็บข้อมูลคล้าย “ลิ้นชัก” หรือตู้เป็นชั้นๆ ซึ่งแต่ละชั้นจะเก็บสิ่งของไว้ การนำสิ่งของออกมา ทำได้โดยการดึงลิ้นชั้นที่ต้องการออกมา แต่ละชั้นกำกับด้วยหมายเลข 0,1,2,3,... ตามลำดับ ผู้ใช้สามารถดึงชั้นใดก่อนก็ได้


ข้อมูลเชนิดทูเพิล (Tuple)

คล้ายกับลิสต์ แต่มีข้อแตกกต่างคือ ทูเพิลจะใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ (immutable) กล่าวคือ เมื่อกำหนดค่าข้อมูลให้กับตัวแปรทูเพิล ข้อมูลดังกล่าวจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าในภายหลังได้

ประกาศตัสแปรทูเพิล
ผลลัพธ์
x = ()
กำหนดให้ x เท่ากับทูเพิลที่มีค่าว่าง
y = (100,krubom,men)
กำหนดให้ทูเพิล y มีสมาชิกเท่ากับ 100,”krubom”,’men’
z = (10,[1,2],y)
กำหนดให้ทูเพิล z มีสมาชิกเท่ากับ 10, ลิสต์ และทูเพิล y
print(x)
( )
print(y)
(5, [1,2],(100,’krubom’,’men’))
print(z)
[1,2]

การแสดงผลข้อมูลของทูเพิลบางส่วน สามารถทำได้เหมือนกับ ตัวแปรลิสต์ เช่น y[0] เท่ากับ 100, y[1] เท่ากับ ‘krubom’ เป็นต้น


ข้อมูลชนิดดิกชินนารี (Dictionary)

คือรูปแบบการเก็บข้อมูลที่ประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ Key และ value ซึ่งคั่นด้วยเครื่องหมายโคล่อน : key:value 

โดยคีย์ทำหน้าที่เป็นตัวชี้ (index) ข้อมูลที่จัดเก็บไว้ คีร์กับข้อมูลจะต้องมีความสัมพันธ์กัน และที่สำคัญ คีจะต้องไม่ซ้ำกัน การเข้าถึงข้อมูลสามารถเข้าถึงได้รวดเร็ว เพราะข้อมูลถูกทำในดิกชันนารีไว้ในคีย์(key) นั่นเอง

ดอกชันนารีจะใช้เครื่องหมาย {.....} แสดงโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูล เช่น {1:”home”,2:10,3:”krubom”} เป็นต้น

ประกาศตัวแปรดิกชันนารี
ผลลัพธ์
x = { }
กำหนดให้ x เท่ากับดิกชันนารี
y = {1:”home”,2:”name”,3:”price”}
กำหนดให้ดิกชันนารี y มีคู่สมาชิกเท่ากับ 1:”home”,2:”name”,3:”price”
print(x)
{ }
print(y)
{1:”home”,2:”name”,3:”price”}
print(y[1])
home
print(y[3])
price

    ข้อมูลชนิดเซต (Set)

กลุ่มข้อมูลชนิดต่างๆ ที่สามารถกำหนดสมาชิก (Element)  ได้ชัดเจน โดยข้อมูลสมาชิกไม่จำเป็นต้องจัดเก็บเรียงตามลำดับ สมาชิกแต่ละตัวต้องไม่ซ้ำกันเลย และข้อมูลจะต้องจัดเก็บแบบถาวร โดยไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในภายหลัง เซตนิยมเขียนอยู่ในรูปแบบเครื่องหมาย {....}  เช่น {จันทร์,อังคาร,พุทธ,พฤหัสบดี,ศุกร์,เสาร์,อาทิตย์,}

ประกาศตัวแปรเซต
ผลลัพธ์
x = set()
กำหนดให้ x เท่ากับเซตว่าง
y = {1,2,3,4,5,6,6}
กำหนดให้เซต y มีสมาชิกเท่ากับ {1,2,3,4,5,6} สมาชิกที่ซ้ำกันจะถูกตัดออก
print(x)
set()
print(y)
{1,2,3,4,5,6}