เทคโนโลยีกับความสัมพันธ์ศาสตร์ต่างๆ

Nov. 10, 2021, 8:40 a.m.
...

ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น

เทคโนโลยีเป็นวิทยาการที่เกิดขึ้นจากการนำความรู้ด้านต่างๆ โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา  ปัจจุบันมีการำนเทคโนโลยีขั้สูงมาใช้ในทุกภาคส่วนของธุรกิจ  เทคโนโลยีจึงเกี่ยวข้องกับการนำความรู้จากศาสตร์ต่างๆ มาประกอบกับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางานอาชีพต่างๆ ในชุมชนอย่างสร้างสรรค์

เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติทั้งสิ่งทีมีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต  รวมถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเป็นพื้นฐานสำคัญ  ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเกิดจากการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการหรือการแก้ปัญหาของมนุษย์  โดยวิทยาศาสตร์ แบ่งออกได้เป็น  2  สาขา  ดังนี้

    1.  วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ  (Natural Science) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับโลก  สิ่งรอบๆโลก และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ  โดยกลุ่มย่อยของความรู้สำคัญที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ  มีดังนี้

ด้านดาราศาสตร์ ศึกษาเกี่ยวกับวัตถุบนท้องวฟ้า  เช่น ดวงดาว  และปรากฏการณ์ที่อยู่นอกชั้นบรรยากาศโลก  เช่น  ดาวตก  พายุสุริยะ  ตัวอย่างเช่น กล้องโทรทรรศน์  ดาวเทียวม

ด้านชีววิทยา ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งทีชีวิตในทุกด้าน  เช่น โครงสร้างการเจริญเติบโต  การสืบพันธ์  ตัวอย่างเช่น  เทคโนโลยีทางการแพทย์  เทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์

ด้านฟิสิกส์  ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีชีวิต  ได้แก่  การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและปรากฏการณ์ต่าง

ๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น การเคลื่อนที่ของวัตถุ  พลังงานแสง  ตัวอย่างเช่น เซลล์แสงอาทิตย์  เครื่องเอกซเรย์

ด้านเคมี  ศึกษาเกี่ยวกับสสาร  องค์ประกอบ  โครงสร้าง  สมบัติ  การเปลี่ยนแปลงของวลสสาร  ปฏิกิริยาของสสาร  ตัวอย่างเช่น  เซลล์ไฟฟ้าเคมีประเภทแบตเตอรี่ที่สามารถดูดดกลืนคาร์บอนไดออกไซต์จากอากาศมาเปลี่ยนเป็นพลังงาน


     2.  วิทยาศาสตร์ประยุกต์  (Applied  Science) เป็นการนำความรู้จากวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับการแก้ปัญหาในชุมชนหรือสังคมมนุษย์  โดยกล่มย่อยของความรู้สำคัญที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ประยุกต์  มีดังนี้

       วิศวกรรมศาสตร์  คือ การประยุกต์ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการออกแบบและพัฒนาโครงสร้าง เครื่องจักร  เครื่องมือ กระบวนการผลิต  โดนเฉพาะอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น เครื่องจักรกล  หุ่นยนต์

       วิทยาการรับรู้  คือ  ความสัมพันธ์ระหว่างความคิด  อารมณ์  และการแสดงออกของมนุษย์  เพื่อค้นหาคำตอบ  เช่น การเกิดปัญญาของมนุษย์  การตอบสนองและอารมณ์ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นกับสิ่งเร้าที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น  เทคโนโลยี สายสื่อประสาท  เช่น ขาเทียมที่สั่งการจากสัญญาณของสมอง


เทคโนโลยีกับคณิตศาสตร์

การพัฒนาเทคโนโลยีนอกจากความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์แล้ว  ยังต้องใช้คณิตศาสตร์ซึ่งเป็นความรู้ด้านการคำนวณที่เข้ามาพิสูจน์สิ่งที่สังเกตได้จากวิทยาศาสตร์ เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ และสามารถทำนายผลลัพธ์ได้อย่างแม่นยำ

กล้องตรวจจับความเร็วอัตโนมัติแบบวัดเป็นช่วง (Point-to-Point Speed Camera) เป็นกล้องตรวจจับความเร็วแบบถาวรที่ติดตั้งเป็นช่วงๆ ถนนในระยะยาว  เพื่อดูความเร็วเฉลี่ยของยานพาหนะ  โดยหากความเร็วเฉลี่ยสูงกว่าความเร็วที่กฎหมายกำหนดก็จะส่งข้อมูลเพื่อออกใบสั่ง และส่งไปยังที่อยู่ของผู้ขับขี่ตามที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้

กล้องตรวจจับความเร็วอัตโนมัติแบบวัดเป็นช่วง เป็นเทคโนโลยีที่นำความรู้ทางฟิสิกห์  เรื่องการเคลื่อนที่แนวตรงของวัตถุ โดยเมื่อเวลาเปลี่ยนไปวัตถุที่มีการเคลื่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง  เช่น การเคลื่อนที่รถยนต์บนถนนทางตรง  และได้นำหลักการทางคณิตศาสตร์มาอธิบายการเคลื่อนที่จึงทำให้คำนวณหาตวามเร็วเฉลี่ยของวัตถุได้อย่างแม่นยำ

มัลติมิเตอร์  เป็นเครื่องมือสำหรับวัดแรงดันไฟไฟ้า  วัดกระแสไฟฟ้าทั้งแบบกระแสตรงและกระแสสลับ  วัดความต้านไฟฟ้า เพื่อใช้ในการตรวจสอบข้อผิดพลาดและคำนวณการทำงานของวงจรไฟฟ้าในอุปกรณ์ต่างๆว่าทำงานถูกต้องหรือไม่


เทคโนโลยีกับมนุษย์ศาสตร์

มนุษย์ศาสตร์ เป็นความรู้จักจากการศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์  ได้แก่  ความรู้สึกนึกคิด  ความรู้สึกทางอารมณ์  จินตนาการ  ความฝัน  คุณค่า  คุณธรรม และจริยธรรม  โดยกลุ่ย่อยของความรู้สำคัญที่เกี่ยวกับมนุษย์ศาสตร์ มีดังนี้

ศาสนา  ความเชื่อของมนุษย์  หลักศีลธรรม  พิธีกรรม คำสอน  ตัวอย่างเทคโนโลยี แอปพลิเคชั่น Muslim Pro ซึ่งมีการเดือนเวลาทำละหมาด  ทิศละหมวดคัมภีอัลกุรอน  แผนที่มัสยิด และร้านอาหาร   ภาษา  การพูด  หรือกริยาอาการที่แสดงออามาแล้ววสามารถทำความเข้าใจกันระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กัยสัตว์  หรือสัตว์กับสัตว์  ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ตรวจภาษาอังกฤษให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์  เครื่องแปลภาษา

ศิลปะ  ผลงานที่บ่งบอกถ฿กความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์แสดงออกมาในรูปลักษร์ต่างๆ ให้ปรากฏ ความประทับใจหรือสะเทือนอารมณ์  ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) หรือความเป็นจริงเสริม  เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์สามมิติ


เทคโนโลยีกับสังคมศาสตร์

เทคโนโลยีและสังคมศาสตร์เป็นสาขาที่ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสังคมและกลุ่มคนที่ใช้งานเทคโนโลยีนั้น ๆ ซึ่งมีมิติทั้งทางวัฒนธรรม สังคมวิทยา และนิติศาสตร์ เรื่องราวทั้งสองสาขามีประโยชน์ในการทำความเข้าใจถึงวิวัฒนาการและผลกระทบของเทคโนโลยีในสังคมได้ดีขึ้น

ด้านสังคมศาสตร์:

  1. ผลกระทบทางสังคม: เทคโนโลยีมีผลกระทบต่อโครงสร้างสังคม แบบชุมชน และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ศึกษาด้านนี้ช่วยให้เราเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยี

  2. การสื่อสารและเปรียบเทียบ: สังคมศาสตร์สนใจในการศึกษาเปรียบเทียบวัฒนธรรมและสังคมที่ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ อย่างไร การเชื่อมต่อระหว่างบุคคลและกลุ่มผ่านสื่อสารเทคโนโลยีมีผลกระทบต่อพฤติกรรมและความรู้สึกของบุคคล

  3. ความไม่เสมอภาค: เทคโนโลยีมีบทบาทในการสร้างความไม่เสมอภาคในสังคม ผลกระทบทางสังคมของการเข้าถึงเทคโนโลยีและข้อมูลที่ไม่เท่าเทียมกัน จึงเป็นหัวข้อที่สังคมศาสตร์สนใจ

ด้านเทคโนโลยี:

  1. นวัตกรรมและการพัฒนา: เทคโนโลยีเป็นกลไกสำคัญที่สนับสนุนการนวัตกรรมและการพัฒนา มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการพัฒนาทั้งประเทศและองค์กร

  2. การเชื่อมต่อ: เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเชื่อมต่อโลก การพัฒนาระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมีผลกระทบต่อการทำงาน การศึกษา และการค้าขาย

  3. จรรยาบรรณและความปลอดภัย: เทคโนโลยียังมีผลกระทบต่อด้านจรรยาบรรณและความปลอดภัย เช่น การจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความเป็นส่วนตัว

การศึกษาเรื่องนี้ช่วยให้เข้าใจถึงความซับซ้อนของประสิทธิภาพและผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสังคม และช่วยสร้างมุมมองที่มีความรู้สึกอยู่ในระบบทางสังคม และนิติศาสตร์ได้อย่างเต็มที่