กระบวนการคิดเชิงออกแบบ

Feb. 24, 2022, 9:08 a.m.
...

กระบวนการของการคิดเชิงออกแบบ

David Kelly ได้นำแนวคิดการคิดเชิงออกแบบมาใช้ในธุรกิจ ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง และแบ่งกระบวนการคิดของการคิดเชิงออกแบบออกเป็น 5  ขั้นตอน  ดังนี้

1.Empathize – เข้าใจปัญหา

ขั้นแรกต้องทำความเข้าใจกับปัญหาให้ถ่องแท้ในทุกมุมมองเสียก่อน ตลอดจนเข้าใจผู้ใช้กลุ่มเป้าหมาย หรือเข้าใจในสิ่งที่เราต้องการแก้ไขนี้เพื่อหาหนทางที่เหมาะสมและดีที่สุดให้ได้ การเข้าใจคำถามอาจเริ่มตั้งด้วยการตั้งคำถาม สร้างสมมติฐาน กระตุ้นให้เกิดการใช้ความคิดที่นำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ที่ดีได้ ตลอดจนวิเคราะห์ปัญหาให้ถ้วนถี่ เพื่อหาแนวทางที่ชัดเจนให้ได้ การเข้าใจในปัญหาอย่างลึกซึ้งถูกต้องนั้นจะนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ตรงประเด็นและได้ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม 
โดยวิธีการทำความเข้าใจผู้ใช้อย่างลึกซึ้งทำได้ ดังนี้  

1. สังเกตสิ่งรอบตัวของผู้ใช้ว่าจะเปิดกิริยาท่าทาง หรือของใช้ส่วนตัว สภาพแวดล้อมทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน เพื่อที่จะทำความเข้าใจชีวิตของผู้ใช้ได้ดียิ่งขึ้น

2. การสัมภาษณ์  ซึ่งมีเทคนิคในการสัมภาษที่จะได้ข้อมูลอย่างลึกซึ้ง ดังนี้

 ก่อนสัมภาษณ์ 
  - กำหนดทีมสัมภาษณ์ 3 คน  ต่อผู้ใช้ที่ให้สัมภาษณ์ 1 คน
  - การเตรียมคำถามปลายเปิดที่เกี่ยวกับปัญหา ความต้องการ ความจำเป็น ซึ่งควรเป็นคำถามกว้าง
สัมภาษณ์  
  - สร้างความคุ้นเคย สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย เพื่อช่วยให้ผู้ใช้เปิดใจและให้ข้อมูลเชิงลึก
หลังสัมภาษณ์
  - ทบทวนข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์ แล้วสรุปเป็นประเด็นสำคัญๆ

2. การระบุปัญหาและกรอบของปัญหา (Define)

คือ การระบุปัญหาหรือประเด็นหลังจากที่ทำความเข้าใจกลุ่มเป้นหมายด้วยกระบวนการข้างต้น จากนั้นจะนำข้อมูลของผู้ใช้งานทุกคนมาจัดกลุ่มของปัญหา และรับุปัญหาที่ต้องการแก้ไขให้ชัดเจน


3. การหาแนวทางแก้ไข (Ideate)

คือ ขั้นตอนการค้นหาความคิดใหม่ ๆ ที่สามารถตอบโจทย์ปัญหาและความต้องการของผู้ใช้งานได้มากที่สุดโดยวิธีการระดมสมองของคนในทีม


4. การสร้างต้นแบบ (Prototype)

หากเป็นเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมขั้น Prototype นี้ก็คือการสร้างต้นแบบเพื่อทดสอบจริงก่อนที่จะนำไปผลิตจริง สำหรับในด้านอื่นๆ ขั้นนี้ก็คือการลงมือปฎิบัติหรือทดลองทำจริงตามแนวทางที่ได้เลือกแล้ว ตลอดจนสร้างต้นแบบของปฎิบัติการที่เราต้องการจะนำไปใช้จริง 


5. การทดสอบ (Test) 

ทดลองนำต้นแบบหรือข้อสรุปที่จะนำไปใช้จริงมาปฎิบัติก่อน เพื่อทดสอบประสิทธิภาพ ตลอดจนประเมินผล เสร็จแล้วก็นำเอาปัญหาหรือข้อดีข้อเสียที่เกิดขึ้นเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข ก่อนนำไปใช้จริงอีกครั้งนั่นเอง