แนวคิดเชิงออกแบบ

Feb. 17, 2022, 4:20 a.m.
...

ในกระบวนการคิดเชิงออกแบบขะมีขั้นตอนที่ต้องสร้างต้นแบบ (Prototype) ซึ่งจะเป็นการสร้างต้นแบบเบื้องต้นแบบง่ายๆ โดยอาจจะสร้างต้นแบบเป็นภาพ 3 มิติ ภาพวาด แสดงละครจำลองสถานการณ์ หรือ สร้างบทภาพก็ได้ การคิดเชิงออกแบบจะทำให้ต้นแบบที่เราต้องการสร้างมีข้อผิดพลาด (Error) น้อยมาก

การคิดเชิงออกแบบ (Desgin Thinking) เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรมได้เป็นอย่างดีในยุคที่ประเทศไทยมีนโยบายที่เปลี่ยนเศรษญกิจแบบเดิมไปสู้เศรษญกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม  ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนการผลิตสินค้าโภาคภัณฑ์ หรือสินค้าที่มีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก เช่น ข้าวไทย ซึ่งมีมูลค่าต่อหน่วยให้ประเทศค่อนข้างต่ำไปสู้สินค้าเชิงนวัตกรรมซึ่งสร้างมูลค่าให้ประเทศสูงขึ้น เช่น การนำกากน้ำมันรำข้าวมาพัฒนาเป็นครีมเคลือบเงาอเนกประสงค์ที่ปราศจากกลิ่นเหม็นและสารเคมี และยังลดการเสื่อมสภาพของอุปกณณ์ภายในรถยนต์ เช่น เบาะหยัง รวมทั้งสามารถป้องกันรังสูยูวีได้ด้วย

ดังนั้น หากกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมที่มีขั้นตอนการพัฒนาชิ้นงานหรือเทคโนโลยีได้นำความคิดเชิงออกแบบมาใช้ควบคู่ไปด้วย จะทำให้ชิ้นงานหรือเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมีมูลค่าเพิ่ม


แนวคิดหลักของการคิดเชิงออกแบบ 

การคิดเชิงออกแบบ เป็นกระบวนการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการท่ต้องค้นหาประสบการณ์ของผู้ใช้ (User Experience) เพื่อพัฒนาต้นแบบมาทดลองในการตลาด (Iterative Prototyping) จากนั้นเมื่อทดลองใช้และได้รับผลตอบกลับจากผู้ที่มีการใช้งานขริง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ (Stakeholder Feedback) จึงนำมาปรับปรุง และผลิตเพื่อจำหน่ายต่อไป

การคิดเชิงออกแบบของขวดซอสมะเชือเมศซึ่งครั้งแรกออกแบบให้ใส่ในขวดแก้งใส เพื่อต้องการให้ลูกค้าเห็นคุณภาพของซอสข้างใน เพราะเชื่อว่าจะกระตุ้นความอยากกิน แต่ต่อมาผู้ผลิตได้สอบถามจากประสบการณ์ของผู้ใช้งานจนพบว่า ผู้ใช้มักมีปัญหาการเทซอสจากขวดยากจึงได้พัฒนาเป็นขวดพลาสติกแบบบีบ และเมื่อเจาะลึกประสบการณ์ของผู้ใช้งานพบว่า เวลาซอสใก้ลหมดผู้ใช้จะต้องพลิกขวดคว่ำไปมาเพื่อให้ซอสไกลออกมา ผู้ผลิตจึงพัฒนาจนออกมาเป็นขวดพลาสติกที่คว่ำลงซึ่งตอบสนองต่อการใช้งานของผู้ใช้ ทำให้ยอดขายของผลิตภัณฑ์สูงขึ้น โดยการคิดเชิงออกแบบ มีแนวคิดหลัก  3 ขั้นตอน ดังนี้


   1. การเข้าใจปัญหาอย่างถูกต้อง

ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้ง  เป็นจั้นตอนที่มีบทบาทต่องการกำหนดทิศทางในการแก้ปัญหา  โดยควรตั้งคำถามที่ถูกต้องเท่านั้นจึงจะนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ตรงประเด็นการคิดเชิงออกแบบมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คือ การออกแบบโดยนำคนที่เราต้องการจะแก้ปัญหาให้เป็นศูนย์กลาง ตัวอย่างเช่น หากเป็นหมอหรือพยาบาลที่ต้องการสร้างสรรค์บริการที่ดีควรเริ่มที่การทำความเข้าใจความต้องการของคนใข้ หรือการเป็นครูที่ต้องการพัฒนาการเรียนการสอนของตัวเองควรเริ่มที่การทำความเข้าใจนักเรียน


   2. การคิดแบบไม่มีกรอบ

ขั้นตอนนี้เป็นการทำให้ข้ามอุปสรรคสำคัฐที่ทำให้นวัตกรรมใหม่ไม่เกิด คือ กรอบความคิดฝนกระบวนการคิดเชิงออกแบบซึ่งจะมุ่งเน้นการแยกการสร้างสรรค์แนวคิดออกจากการประเมิน นั่นคือสร้างแนวคิดออกมาให้มาก แล้วนำแนวคิดเหล่านั้นมาประเมินแนวคิดใดมีความเป็นไปได้บ้าง


   3. เรียนรู้ผ่านการกระทำ

ขั้นตอนนี้ต่อยอดมาจากขั้นตอนการติดแบบไม่มีกรอบ ซึ่งหลายครั้งที่ได้แนวคิดมากมาย แต่ไม่ลงมือทำจะทำให้นวัตกรรมไม่เกิดขึ้น ขั้นตอนนี้เป็นการเปลี่ยนแนวคิดดีๆ ให้เป็รรูปร่างด้วยการสร้างต้นแบบ หรือแบบจำลองอย่างง่ายที่สามารถนำไปสื่อสารแนวคิดต่อได้ การสร้างต้นแบบ คือ การลงมือทำที่ทำให้เกิดการเรียนรู้และทำให้เราเห็ยชัดเจนขึ้นว่าแนวคิดที่เลือกมานั้นสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายหรือไ่ม่