การจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ
"การจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ" มีความสำคัญอย่างมากในยุคปัจจุบัน เนื่องจากข้อมูลมีคุณค่าที่สูงขึ้น และเป็นทรัพยากรสำคัญที่สามารถนำมาใช้ในการตัดสินใจและการวิเคราะห์ในองค์กรต่าง ๆ ดังนั้นการจัดการข้อมูลให้อย่างเป็นระบบมีความสำคัญอย่างมากในการให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการทำให้ข้อมูลเป็นประโยชน์อย่างมากที่สุด
ข้อมูล (data) คือข้อมูลที่มีอยู่ในรูปแบบของข้อความ ตัวเลข รูปภาพ วิดีโอ หรือข้อมูลใดๆ ที่สามารถถูกจัดเก็บและประมวลผลได้ด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น เว็บไซต์อาจมีข้อมูลเกี่ยวกับชื่อผู้ใช้งาน รหัสผ่าน และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ ซึ่งถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูล เพื่อให้สามารถเรียกใช้หรือประมวลผลข้อมูลนั้นๆ ได้ตามต้องการ
ในการจัดการข้อมูลหรือการนำข้อมูลมาประมวลผลนั้น ผู้ใช้ข้อมูลจะต้องความใจเกี่ยวกับลักษณะของข้อมูลเสียก่อน ลักษณะของข้อมูลจะสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ 1.ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) 2.ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data)
- ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) ข้อมูลเชิงปริมาณเป็นข้อมูลที่สามารถวัดหรือนับได้ตรง ๆ โดยมีลักษณะเป็นตัวเลข ซึ่งสามารถนำมาคำนวณหรือวิเคราะห์ได้โดยตรง เช่น อายุ รายได้ น้ำหนัก จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ เป็นต้น
- ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นข้อมูลที่บอกถึงคุณภาพหรือลักษณะที่ไม่สามารถวัดได้โดยตรงด้วยตัวเลข มักเป็นการบรรยายลักษณะของสิ่งต่างๆ หรือความคิดเห็นของบุคคล เช่น สีที่ชอบ รสชาติที่ต้องการ ความพอใจในการบริการ เป็นต้น
หากพิจารณาข้อมูลตามวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล สามารถจำแนกได้ 2 ประเภท คือ ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) และข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data)
- ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) คือ ข้อมูลที่ถูกรวบรวมจากแหล่งที่มาโดยตรง อาจได้มากจาก การสัมภาษณ์ การสังเกตจากแหล่งข้อมูลนั้นโดยตรง
- ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ข้อมูลที่นำมาจากบุคคลอื่น หรือหน่วยงานอื่น ข้อมูลประเภทนี้ ผู้รวบรวมข้อมูลจะไม่ได้ลงมือเก็บรวบรวมด้วยตนเอง โดยส่วนใหญ่แล้วข้อมูลประเภทนี้มักเป็นข้อมูลที่เก็บรวบรวมโดยหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน