องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์

Aug. 21, 2022, 8:24 a.m.
...

ระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง การทำงานรของคอมพิวเตอร์ส่วนต่างๆ ทำงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ ระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์(Hardware) ซอฟต์แวร์(software) บุคลากร(Peopleware) ข้อมูลและสารสนเทศ(Data and Information)

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 
ระบบคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ  5 ส่วน ดังนี้

Premium Vector | Computer hardware

1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่ประกอบขึ้นแล้วสามารถจับต้องได้ ตัวอย่างเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer) ปรินเตอร์ (Printer) เมาส์(mouse) โดยฮาร์ดแวร์สามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ตามประเภทการใช้งานได้ ดังนี้

1.1 หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่รับโปรแกรมคำสั่ง และข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ 
1.2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit - CPU) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมทั้งการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ
1.3 หน่วยความจำ (Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง และเก็บผลลัพธ์ที่ได้มาจากการประมวลผลแล้วเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล
1.4 หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล หรือผ่านการคำนวณแล้ว


มาทำความรู้จักซอฟต์แวร์ระบบ System Software (ซีซเท็มซอฟต์แวร์)

2. ซอฟต์แวร์ (sofware) คือ ส่วนประกอบโปรแกรมที่เป็นคำสั่งในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานตามลำดับขั้นตอน ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

 2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) คือโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ทำงานประสานกัน และควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ โดยซอฟต์แวร์ระบบสามารถแบ่งออกได้ ดังนี้

      ระบบปฏิบัติการ (Operating System: OS) คือ โปรแกรมที่คอยควบคุมการประสานงานระหว่างซอฟต์แวร์กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ โดยระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมในสมัยนี้ ได้แก่ ระบบปฏิบัติการดอส ระบบปฏิบัติการวินโดว์ ระบบปฏิบัติการแมคอินทอช ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ และระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์

ระบบปฏิบัติการ     ข้อดี ข้อเสีย
ระบบปฏิบัติการวินโดส์ ใช้งานง่าย เนื่อจากใช้การติดต่อกับผู้ใช้งานด้วยภาพและสัญลักษณ์ มีความเสี่ยงเรื่องคอมพิวเตอร์ไวรัสมากกส่าระบบปฏิบัติการอื่น
ระบบปฏิบัติการแมคอินทอช มีความเสี่ยงเรื่องคอมพิวเตอร์ไว้รัสค่อนข้างต่ำ มีฮาร์แวร์และซอฟต์แวร์ให้เลือกใช้งานจำกัด
ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความต้องการด้านระบบที่สูง การใช้งานค่อนข้างซับซ้อนสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป

    โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Program) เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งมาพร้อมระบบปฏิบัติการเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานร่วมกับฮาร์แวร์ ตัวอย่างโปรแกรม มีดังนี้ 

  • โปรแกรมตัดการไฟล์ (File Manager)
  • โปรแกรมสแกนดิสก์ (Disk Scanner)
  •  โปรแกรมรักษาหน้าจอ (Screen Saver)
  • โปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม (Uninstaller)
  • โปรแกรมจัดเรียงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนฮารฺดิสกฺ (Disk Degragmenter)

 2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) คือโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานตามความต้องการด้านต่างๆ ของผู้ใช้ โดยสามาถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 

GHGLMS: All courses

    ซอฟแวร์ประยุกต์ทั่วไป (General Purpose Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อการใช้งานทั่วไป ซึ่งผู้ใช้จะต้องเลือกใช้งานซอฟต์แวร์ให้สอดคล้องและเหมาะสมคามความต้องการ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกกับนักเรียน เช่น

  •  ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ         เช่น  Microsoft Word
  • ซอฟต์แวร์นำเสนอ                  เช่น   Microsoft Powerpoint
  • ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน           เช่น    Microsoft Excel
  • ซอฟแวร์จัดการฐานข้อมูล        เช่น    Microsoft Acess

      ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน (Application Software for Spesific Purpose) เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อการใช้งานฌฉพาะด้าน โดยส่วนใหญ่แล้วจะพัฒนาขึ้นเพื่อตอยสนองความต้องการใช้งานในองค์กรใดองค์กรหนึ่ง เช่น โปรแกรมคำนวณภาษีของกรมศุลกากร โปรแกรมฝาก-ถอนเงินในธนาคาร โปรแกรมคำนวณของเจ้าหน้าที่การเงิน  เป็นต้น


Peopleware - ระบบคอมพิวเตอร์

3. บุคลากร Peopleware (พิเพิลแวร์) เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงาน เรียกบุคลากรเหล่านี้ว่า ผู้ใช้ หรือ user (ยูเชอร์)


4. ข้อมูลและสารสนเทศ Data Information (ดาต้า อิมฟอเมชัน) ในการทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมมาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ่งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพ โดยความแตกต่างระหว่าง ข้อมูล และ สารสนเทศ


5. กระบวนการ (Produre) กระบวนการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ  ซึ่งในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ผู้ใข้จำเป็นต้องทราบขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้งานที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยอาจจะมีขั้นตอนสลับซับซ้อนหลายขั้นตอน ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องมีคู่มือปฏิบัติงาน เช่น คู่มือผู้ใช้ คู่มือผู้ดูแลระบบ เป็นต้น