ความรู้เกี่ยวกับวัสดุสำหรับการพัฒนาชิ้นงาน

Jan. 17, 2022, 4:50 a.m.
...

เทคโนโลยีในการสร้างวิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันเกิดจากการนำวัสดุหลายประเภทที่มีสมบัติแตกต่างกันมาประกอบหรือผสมเข้าด้วยกัน การคัดเลือกวัสดุจากสมบัติจึงมีความสำคัญต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์และวัตถุประสงค์ในการใช้งานโดยตรง เช่น แก้วน้ำที่ทำจากกระดาษสำหรับใช้ครั้งเดียว แก้วน้ำที่ทำจากพลาสติกปลอดภัยกับเด็กมากกว่าที่ทำจากแก้ว


วัสดุและประเภทของวัสดุ

วัสดุ (Materials) คือ สิ่งของหรือวัตถุที่นำมาใช้ประกอบกันเป็นชิ้นงานตามการออกแบบ เป็นวัตถุที่สามารถสังผัสได้ และมีสมบัติเฉพาะตัวทางฟิสิกส์ ทางเคมี ทางไฟฟ้า หรือสมบัติเชิงกลแตกต่างกันไป จึงต้องมีการวิเคราะห์สมบัติของวัสดุเพื่อเลือกใช้ให้เหมาะกับลักษณะของงาน วัสดุแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. โลหะ (Metals) เป็นวัสดุที่มีสมบัติของความแข็ง (ยกเว้นปรอทซึ้งเป็นของเหลว) ผิวมัมวาว เป็นตัวนำไฟฟ้า ตัวนำความร้อน มีความเหนี่ยว โดยสามารถดึงและยึดเป็นเส้น หรือตีเป็นแผ่นบางได้ โลหะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

 2. อโลหะ (Non-Metals) คือ วัสดุที่มีคุณสมบัติต่างจากโลหะและวัสดุกึ่งโลหะ ในด้านการแตกตัวของไออน(lonoztion) และการดึงดูดระหว่างอะตอม (Bonding Properties) อโลหะแตกตัวในสารละลายได้ ให้ประจุลบ จึงใช้เป็นฉนวนไฟฟ้าหรือกึ่งตัวนำไฟฟ้า (ขณะที่โลหะเป็นตัวนำไฟฟ้า) ยกเว้นคาร์บอนในรูปแกรไฟต์และฉนวนความร้อนอโลหะที่เป็นของแข็งจะมีความเปราะ ไม่สามารถดึงยืดออกเป็นเส้นลวดหรือตีเป็นแผ่บางๆ ได้ อโลหะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

2.1 วัสดุธรรมชาติ  หมายถึง  วัสดุที่ได้จากผลผลิตจากธรรมชาติ  ซึ่งวัสดุธรรมชาติที่พบในแต่ละภูมิภาคในประเทศไทยมีหลายชนิดและอาจแตกต่างกันในแต่ละชุมชนหรือท้องถิ่น สามารถนำมาทำเป็นผลิตภันฑ์ต่างๆ เพื่อใช้ประโยชน์ รวมทั้งวางขายเพื่อเสริมรายได้ให้แก่คนในชุมชนหรือท้องถิ่นได้ วัสดุธรรมชาติที่นิยมใช้  มีดังนี้

2.2 วัสดุสังเคราะห์   เป็นวัสดุที่ถูกปรับแต่งขึ้นใหม่จากวัสดุธรรมชาติและสารเคมี  ด้วยกระบวนการหรือกรรมวิธีต่างๆ วัสดุที่ได้จากการสังเคราะห์จะมีสมบัติเฉพาะตัว  เช่น  น้ำหนักเบา  มีความแข็งแรงสูง  คงทนต่อการกัดกร่อน คงทนต่ออุณหภูมิ  คงทนต่อสารเคมี  เป็นที่นิยมในการนำมาใช้งานอุตสาหกรรมทุกแขนง  วัสดุสังเคราะห์ที่นิยมใช้  มีดังนี้


สมบัติของวัสดุและหลักการเลือกวัสดุ

การเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับงานนนั้นจำเป็นจะต้องศุกษาหรือพิจารณาจากสมบัติของวัสดุนั้นให้ตรงกับงานทที่ออกแบบหรือตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการจากวัสดุต่างๆ เช่น การทนต่อความร้อน  การนำไฟฟ้า  จุดหลองหลวม   ความโปร่งแสง  สมบัติของวัสดุที่นำมาพิจารณาเลือกใช้  มีดังนี้

1.  สมบัติทางเคมี  (Chemical Properties)  เป็นสมบัติที่สำคัญของวัสดุซึ่งจะบอกลักษณะเฉพาะตัวที่เกี่ยวกับโครงสร้างและองค์ประกอบของธาตุต่างๆ ของวัสดุ  เช่น  ค่าความกรด-เบส  การกัดกร่อน  การลุกติดไฟ  ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากการทดลองในห้องปฏิบัติการ

2. สมบัติทางกายภาพ  (Physical  Properties)  เป็นสมบัติเฉพาะของวัสดุที่สามารถสังเกตได้จากลักษณะภายนอก  เช่น  รูปร่าง  รูปทรง  สี  กลิ่น  รสชาติ  ความหนาแน่น  จุดหลอมเหลว  ตรวจสอบได้โดยการใช้ประสาทสัมผัสเช่น  ใช้มือสัมผัสพื้นผิวของวัสดุ  หรือใช้เครื่องือเฉพาะทาง  เช่น  เครื่องหาจุดหลอมเหลว  เครื่องวัดการนำไฟฟ้าเครื่องวัดความชื้น

3. สมบัติเชิงกล (Mechanical Properties) เป็นสมบัติเฉพาะตัวของวัสดุที่เเกิดจากการตอบสนองต่อแรงภายนอกที่มากระทำ  เช่น  การยิดและหดตัวของวัสดุ  ความเหนียว  ความแข็ง  ความแข็งแรง  ความสามารถในการรับน้ำหนัก  ความทนทานต่อการขูดรีด