กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ความสัมพันธ์ของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
วิทยาศาสตร์ คือ การหาความสัมพันธ์เชิงความเป็นเหตุเป็นผลของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ทำไมเราจึงเป็นหวัด ซึ่งจะต้องหาเหตุคือการที่มนุษย์ได้รับเชื้อไวรัส จึงทำให้ได้ผลตามมาคือเป็นโรคหวัด เป็นต้น ซึ่งการเป็นหวัดคือปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของร่างกาย หากต้องการศึกษาให้เข้าใจมากกว่าแค่เหตุและผลนั้น เราตะต้องใช้วิทยาศาสตร์ในการหาคำตอบเชิงกลไกเกี่ยวกับการทำงานของไวรัส DNA รวมถึงผลกระทบกัยส่วนอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาวัคซีนในการรักษาได้ถูกต้องและแม่นยำ
วิศวกรรมศาสตร์ คือ การนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาสร้างเป็นเทคโนโลยี ซึ่งมีหลายแขนง เช่น วิศวกรรมโยธาเชี่ยวชาญการสร้างตึก ถนน สะพาน วิศวกรรมเครื่องกลเชี่ยวชาญการสร้างยานพาหนะ วิศวกรรมสื่อสารเชี่ยวชาญการสร้างเทโนโลยีเพื่อการสื่อสารต่างๆ ตัวอย่างการใช้วิศวกรรม เช่น การสร้างสนามบินแห่งหนึ่งจะต้องมีวิศวกรรมศาสตร์หลายสาขาที่สร้างเทคโนโลยีในแต่ละส่วนและนำมาใช้ร่วมกันได้
กระบวนการคิดและการทำงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมตร์ มีดังนี้
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ การพิสูจน์เพื่อให้เกิดการยอมรับในความรู้ใหม่โดยใช้พื้นฐานจากความรู้ที่มีอยู่เดิม โดยกระบวนการสร้างองค์ความรู้ใหม่เกิดจากวคามรู้เดิมซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ จึงตั้งสมมติฐานเพื่อการออกแบบกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างมีตรรกะ และสังเคราะห์เป็นความรู้ใหม่ที่ปราศจากข้อโต้แย้ง และสามารถอธิบายความเป็นมาของความรู้ใหม่บนพื้นฐานความรู้เดิมได้อย่างมีเหตุผล
ตัวอย่างแนวคิดกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่บนโลกมาตั้งแต่อดีต โดยรู้จักแสงแดดในรูปของพลังงานที่ให้ความอบอุ่นและแสงสว่างจึงทำให้มนุษย์สามารถมองเห็นได้ชัดเจนในช่วงที่ดวงอาทิตย์ยังไม่ตก ซึ่งต่อมาได้มีผู้ศึกษาแสงที่ส่องมาจากดวงอาทิตย์ คือ เซอร์ ไอแซก นิวตัน เป็นนักฟิสิกส์ที่ได้ศึกษาธรรมชาติพื้นฐานของแสง นิวตันได้ทำการทดลองที่สามารถแยกแสงแสงดวงอาทิตย์ที่ไม่มีสีหรือเราเรียกกันว่า แสงสีขาว ให้เกิดการหักเหของแสงจนเกิดเป็นแถบสีขึ้นมาได้สำเร็จ โดยการนำปริซึมฐานสามเหลี่ยมแยกแสงจากดวงอาทิตย์ออกเป็นแถบสีรุ้ง โดยนิวตันทำการตั้งสมมติฐานไว้ ดังนี
เมื่อนิวตันได้ผลการทดลองแล้ว นิวตันจึงสงสัยว่า แสงที่หักจนได้สีต่างๆ ออกมานั้น สามารถรวมกลับไปเป็นแสงสีขาวได้หรือไม่ นิวตันจึงทำการทดลองโดยการนำปริซึม 2 แท่ง มาทำการทดลอง โดยการนำปริซึมแท่งแรกทำการหักเหแสงสีขาวจากดวงอาทิตย์ออกมาได้เป็นสีรุ้งที่สามารถเห็นได้ว่ามี 7 สี แล้วนำปริซึมแท่งที่ 2 มารับแสงสีรุ้งจากปริซึมแท่งแรก จะพบว่าปริซึมแท่งที่ 2 ทำหน้าที่รวมแสงที่หักจากปริซึมแท่งแรกกลับมาเป็นแสงสีขาวได้
การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสต์กับการทดลองของนิวตัน
ความรู้เดิม (Existing Knowledge) เป็นการนำความรู้เดิมโดยเน้นทางวิทยาศษสตร์และคณิตศาสตร์ หรือความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ในชีวิตซึ่งความรู้เดิมที่เรารู้อยู่แล้ว คือ เมื่อแสงเดินผ่านตัวแลาง แสงสามารถหักเหได้
ความอยากรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Sicentific Curiosity) ตั้งข้อสงสัยว่า แสงสีขาวระหว่างที่เดินทางผ่านปริซึมแล้วเกิดอะไรขึ้นบ้าง จึงทำให้แสงสัขาวที่เดินทางผ่านปริซึมมีแสงออกมาเป็นแสง 7 สีแทน
ตั้งสมมติฐาน (Hypothesis) ตั้งสมมติฐานว่า แสงเดินทางผ่านปริซึมแล้วแสงถูกปริซึมทำให้เปลี่ยนสี หรือเกิดการหักเหของแสง
ออกแบบการทดลอง (Experiment) การออกแบบเป็นสิ่งที่มีความหลากหลายทางความคิด โดยสามารถออกแบบการทดลองได้หลายวิธี เช่น การใช้แสงจากดวงอาทิตย์ แสงจากเทียน แสงจากการเผาไหม้ หรือแสงจากหลอดไฟ แล้วเมื่อนำปริซึมไปรับแสง จะต้องว่างอย่างไร และเมื่อทำมุมต่างๆ กับแสงที่เดินผ่านปริซึมจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ขนาดของปริซึมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของหรือไม่
สรุปวิเคราะห์ (Analysis) เมื่อทำการทดลองแล้ว จึงได้ผลการทดลองที่สอดคล้องกับความรู้เดิมและสามารถอธิบายโดยใช้หลักของวิทยาศาสตร์ในการอธิบายการเกิดของแสง 7 วี ซึ่งผลสรุปคือ "ปริซึมไม่ได้ทำให้สีของแสงอาทิตย์เปลี่ยน แต่ปริซึมหักเหให้สีต่างๆ แยกออกจากกัน" อธิบายได้ว่า แสงสีขาวจะประกอบไปด้วยแสง 7 สี รวมกันจยเป็นแสงสีขาวและเมื่อใช้ปริซึมแสงสีขาวจะเกิดการหักเห ซึ่งแสงทั้ง 7 สี จะมีมุมหักเหไม่เท่ากันจนเกิดการกระจายออกมาให้เห็นเป็น 7 สี นั่นเอง
นำข้อสรุปไปพิสูจน์ (Proof) ทำการพิสูจน์ตามหลักวิทยาศาสตร์เพื่อยินยันการทดลองบนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเมื่อได้รับการพิสูจน์แล้วก็จะเป็นความรู้ใหม่ที่เผยแพร่ไปสู่คนทั่วไป จากความรู้นี้ทำให้คนรุ่นต่อมาสามารถที่จะอธิบายปรากฏการณ์รุ้งกินน้ำได้ตามหลักวิทยาศาสตร์นั่งเอง